ประวัติโรงเรียน
|
โรงเรียนการทำมาหากินวัดโพธิ์เฉลิมรักษ์ (อนุสรณ์วันเด็กแห่งชาติ ปี 2537)เป็นโรงเรียนประเภทสหศึกษา (รับนักเรียนชาย - หญิง) ทั้งประจำและไปกลับ ตั้งอยู่บนพื้นที่ดินซึ่งเช่าจากวัดโพธิ์เฉลิมรักษ์ รวมจำนวน108ไร่
เดิม :โรงเรียนการทำมาหากินวัดโพธิ์เฉลิมรักษ์ ฯ ได้รับการจัดตั้งเป็นสาขาโรงเรียนของโรงเรียนบางน้ำเปรี้ยววิทยา เมื่อปีการศึกษา 2536(นายสมบูรณ์ ธุวสินธุ์ : ผู้อำนวยการโรงเรียน)โดยนางสุชาดา สิกขากูล ตำแหน่งอาจารย์1ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าสาขาโรงเรียนมีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 32 คน ต่อมา ปีการศึกษา 2537 :1 มิถุนายน2537กระทรวงศึกษาธิการ(นายสัมพันธ์ ทองสมัคร: รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ) ประกาศจัดตั้งให้เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา (นายบรรจง พงศ์ศาสตร์ : อธิบดี) จังหวัดฉะเชิงเทรา (นายประสิทธิ แสนสุข :ผู้อำนวยการสามัญศึกษาจังหวัด )โดยใช้ชื่อว่า โรงเรียนมัธยมศึกษาวันเด็กแห่งชาติจังหวัดฉะเชิงเทราประจำปี 2537และวันที่ 1 กรกฎาคม2537กระทรวงศึกษาธิการประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนการทำมาหากินวัดโพธิ์เฉลิมรักษ์ (อนุสรณ์วันเด็กแห่งชาติปี 2537) ทั้งนี้วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ.2537 ได้มีการประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์โรงเรียนโดย
ดร.โกวิท วรพิพัฒน์: ปลัดกระทรวงศึกษาธิการและโดยเบื้องต้นนับได้ว่า นางสุชาดา สิกขากูล เป็นครูใหญ่คนแรกของโรงเรียนมีนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-2 รวมจำนวน 87 คน
โรงเรียนการทำมาหากินวัดโพธิ์เฉลิมรักษ์ ฯ ซึ่งเดิมกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายจะใช้ชื่อเป็นโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ถือเป็นโรงเรียนรูปแบบพิเศษที่เกิดจากความคิดริเริ่มของ ดร.โกวิทวรพิพัฒน์: ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้ให้นโยบายการจัดตั้งเป็นโรงเรียนการทำมาหากินแห่งแรกของโลก และเป็นโรงเรียนการทำมาหากินแห่งเดียวในประเทศไทย เป็นโรงเรียนรูปแบบใหม่ นักเรียนจะเรียน ตามหลักสูตรสามัญศึกษา เน้นความพิเศษในเรื่องการนำวิชาความรู้มาใช้จริงในกิจกรรมภาคปฏิบัตินักเรียนจะได้รับการจัดสรรพื้นที่ทำกินสำหรับการจัดทำโครงการประกอบอาชีพอิสระเพื่อหารายได้ระหว่างเรียนตามความถนัดและความสนใจ ทำให้นักเรียนรู้จักการทำงานเป็นกลุ่ม รู้จักรับผิดชอบต่อหน้าที่รู้จักการจัดการ รู้จักแก้ปัญหาในการทำงาน เป็นการวางรากฐานในการดำรงชีวิตการพึ่งตนเอง และความเป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขให้เกิดกับเยาวชนไทย
|